หน่วยงานและอำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่เทศบาล

อำนาจหน้าที่                                                                                                             

      อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลสวนผึ้ง มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่14) พ.ศ.2562 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลไว้ เป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย มาตรา 50 และมาตรา 51 และอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16   ดังต่อไปนี้                                                  

        อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลไว้ เป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย มาตรา50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้                                                                                                                              1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน                                                                                               

                 2.ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ                                                                                             

                 3.รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล            

                 4.ป้องกันและระงับโรคติดต่อ                                                                                                       

                 5.ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง                                                                                                                  

                 6.จัดการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาศาสนาและการฝึกอบรมให้แก่ประชาชนรวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก                                                                                                                       

                7.ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้บริการ                                                                            

                8.บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น            

                9.หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

        การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีและให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด        

มาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้                

1.ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา 

2.ให้มีโรงฆ่าสัตว์

3.ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม

4.ให้มีสุสานและฌาปนสถาน

5.บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร

6.ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้

7.ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

8.ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ

9.เทศพาณิชย์

       อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16 ให้เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่ ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นด้วยตนเองดังนี้

1.การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

2.การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ

3.การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

4.การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ

5.การสาธารณูปการ

6.การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ

7.การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน

8.การส่งเสริมการท่องเที่ยว

9.การจัดการศึกษา

10.การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส

11.การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

12.การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

13.การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

14.การส่งเสริมการกีฬา

15.การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

16.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

17.การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

18.การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

19.การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

20.การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน

21.การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

22.การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

23.การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ

24.การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

25.การผังเมือง

26.การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร

27.การดูแลรักษาที่สาธารณะ

28.การควบคุมอาคาร

29.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

30.การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

31.กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

สำนักปลัดเทศบาล

            มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของเทศบาลที่มิได้กำหนดไว้ว่าเป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดในเทศบาล ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและปฏิบัติราชการ

เทศบาลตำบลสวนผึ้ง การบริหารงานบุคคล งานรับเรื่องราวร้องทุกข์(งานนิติการ) การจัดเตรียมการเลือกตั้ง การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานสวัสดิการสังคม

ตลอดจนงานบริการสืบค้นข้อมูลข่าวสารอื่นๆ  ประกอบด้วย    

                   1.1  งานบริหารงานทั่วไป

                   1.2  งานแผนงานและงบประมาณ

                   1.3  งานกฎหมายและคดี

                   1.4  งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                   1.5  งานพัฒนาชุมชนและส่งเสริมอาชีพ

                   1.6  งานสวัสดิการสังคมและการสงเคราะห์

กองคลัง

         มีหน้าที่เกี่ยวกับการจ่าย การรับ การนำส่ง การเก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกา งานเกี่ยวกับเงินเดือนค่าจ้าง ค่าตอบแทน

เงินบำเหน็จบำนาญ เงินอื่นๆ งานเกี่ยวกับ การจัดทำงบประมาณ ฐานะการเงิน การจัดสรรเงินต่างๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้ และการจ่ายเงินต่างๆ

การควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงบทดลองประจำเดือน-ประจำปี งานพัสดุและทรัพย์สิน งานผลประโยชน์ งานแผนที่ภาษี และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย 

ประกอบด้วย

          1.1  งานการเงินและบัญชี

          1.2  งานพัฒนารายได้

          1.3  งานพัสดุและทรัพย์สิน

กองช่าง

    มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจ ออกแบบ การจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและทดลองคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบ

การก่อสร้าง งานควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานแผนปฏิบัติงานการก่อสร้างและซ่อมบำรุง การควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องกล

การควบคุม การบำรุงรักษาเครื่องจักรกล การควบคุม การบำรุงรักษาเครื่องกลและยานพาหนะ งานเกี่ยวกับแผนงานควบคุมเก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ-อุปกรณ์อะไหล่ 

น้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องจักรกล และงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย  ประกอบด้วย 

                   1.1  งานก่อสร้างออกแบบและควบคุมอาคาร

                   1.2  งานผังเมืองและสาธารณูปโภค

กองการศึกษา

     มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาและพัฒนาการศึกษา วิจัยและพัฒนาหลักสูตร การแนะแนว การวัดประเมินผลการพัฒนาตำราเรียน การวางแผนการศึกษา

ของมาตรฐานศึกษา การบริการส่งเสริมการศึกษา การใช้เทคโนโลยีการศึกษา การเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษา ส่งเสริมการวิจัยการวางโครงการ การสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ

การศึกษาเพื่อนำไปประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงานและแนวทางการปฏิบัติ ในการจัดการศึกษาการเผยแพร่การศึกษาและงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วย

                   1.1  งานบริหารการศึกษา

                   1.2  งานส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

         มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการด้านการสาธารณสุข การอนามัย การป้องกันและรักษาโรค การรักษาความสะอาด การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม วางแผนประสานคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรป่าไม้ ดิน น้ำ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ รวมทั้งการจัดการและการใช้ประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติ

การเฝ้าระวังติดตามตรวจสอบ และดำรงไว้ซึ่งสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วย

                   1.1  งานส่งเสริมสุขภาพและบริการสาธารณสุข

                   1.2  งานรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม

หน่วยตรวจสอบภายใน