เกี่ยวกับ เทศบาล
ประวัติความเป็นมาเทศบาลสวนผึ้งเดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลสวนผึ้ง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งสุขาภิบาล เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาล เป็นเทศบาล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 |
วิสัยทัศน์และพันธกิจวิสัยทัศน์ “ เทศบาลตำบลสวนผึ้ง เมืองน่าอยู่ สร้างผลผลิตสู่สากล สร้างสภาพชุมชนเพื่อชีวิตและมีการศึกษาอย่างพอเพียง ” ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ของเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ประกอบด้วย ๕ ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจพอเพียงและการลงทุน ๓. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตและความผาสุกของประชาชน ๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านความอุดมสมบูรณ์และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๕. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดกา |
|
สภาพทั่วไป ลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล เทศบาลตำบลสวนผึ้ง มีพื้นที่ ๙.๓๔ ตารางกิโลเมตร รวม ๑ ตำบล ๓ หมู่บ้าน คือตำบลสวนผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ ๑ บ้านบ่อ หมู่ที่ ๒ บ้านทุ่งแฝก และหมู่ที่ ๔ บ้านนาขุนแสน ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับที่ราบเชิงเขาเล็กน้อย มีป่าโปร่งตามภูเขาในพื้นที่ทั่วไป ในช่วงฤดูฝนจะเกิดอุทกภัยทุกปี เนื่องจากมีพื้นที่ป่าไม้น้อยไม่สามารถเก็บน้ำได้ ลักษณะภูมิอากาศ - ฤดูฝน ฝนตกประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ปริมาณฝนตกไม่มากเนื่องจากมีเทือกเขาตะนาวศรีกั้นอยู่ - ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม-มกราคม จะมีอากาศเย็นค่อนข้างหนาว - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน จะมีอากาศค่อนข้างร้อน ลักษณะของดิน พื้นดินเป็นดินร่วนและดินปนทราย เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชไร่ บริเวณริมลำห้วยเป็นดินชุ่มชื้น เหมาะแก่การทำสวนผลไม้และปลูกพืชผัก ลักษณะของแหล่งน้ำ พื้นที่ของเทศบาลตำบลสวนผึ้ง จะมีลำน้ำภาชีไหลผ่าน แหล่งน้ำธรรมชาติ - แม่น้ำลำภาชี ๑ แห่ง - ลำห้วย ๒ แห่ง ได้แก่ ลำห้วยลำภาชี และลำห้วยบ่อ ลักษณะของไม้และป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้ประกอบด้วย ไม้เต็งรัง ไม้ประดู่ ป่าไผ่ ไม้รวก เป็นต้น |
การเมือง การปกครองเขตการปกครอง เทศบาลตำบลสวนผึ้ง ประกอบด้วย หมู่บ้าน ๓ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๑ บ้านบ่อ (ไม่เต็มหมู่บ้านเฉพาะเขตเทศบาล) หมู่ที่ ๒ บ้านทุ่งแฝก (ไม่เต็มหมู่บ้านเฉพาะเขตเทศบาล) หมู่ที่ ๔ บ้านนาขุนแสน (ไม่เต็มหมู่บ้านเฉพาะเขตเทศบาล) การเลือกตั้ง การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลตำบลสวนผึ้ง จะแบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น ๒ เขต เขตที่ ๑ มีจำนวนสมาชิกฯ ๖ คน เขตที่ ๒ มีจำนวนสมาชิกฯ ๖ คน
|
สภาพเศรษฐกิจและสังคมการเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรได้แก่ ปลูกกล้วย,ปลูกอ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปลูกผัก ทำสวนผสมผสาน และอื่นๆ การปศุสัตว์ ประชากรจะมีการเลี้ยงสุกร เลี้ยงโค และแพะ การบริการ ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลสวนผึ้งจะมีสถานบริการ ดังนี้ - ปั้มน้ำมันเชื้อเพลิง - ร้านตัดผม - ร้านล้างรถ - ร้านซ่อมรถยนต์,รถจักรยานยนต์ การท่องเที่ยว ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลสวนผึ้งไม่มีแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ แต่จะมีที่พักและร้านอาหารให้บริการ นักท่องเที่ยวได้มาพัก ดังนี้ - ที่พักนักท่องเที่ยว ได้แก่ อีเดน การ์เด้น,โบ๊ทเฮ้าร์รีสอร์ท,บ้านกรชมพู,บ้านชมจันทร์,คาริสม่ารีสอร์ท, โกลด์เด้นวิว รีสอร์ท,กาสะลอง โฮมสเตย์,บ้านหอมละมุน,ยาดารีสอร์ท - ร้านอาหาร ได้แก่ ร้านครัวตะนาวศรี,ร้านครัวกะเหรี่ยง,ร้านต้มแซบ,ครัวจ๊ะจ๋า,ข้าวต้มนางยัค,ร้านมุมโปรด
|
สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมการศึกษา สถานศึกษาในเขตเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ประกอบด้วย - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสวนผึ้ง จำนวน ๑ แห่ง - โรงเรียนประถมศึกษาสังกัด สพฐ. จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ ๑. โรงเรียนชุมชนบ้านบ่อ ๒. โรงเรียนวัดนาขุนแสน - โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ ๑. โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา สาธารณสุข สถานบริการด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพอำเภอสวนผึ้ง จำนวน ๑ แห่ง - สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสวนผึ้ง - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน ๓ แห่ง - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ๑๐๐ % การนับถือศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีข้อมูลศาสนสถานดังนี้ - วัด จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ หมู่ที่ ๑ วัดบ้านบ่อ, หมู่ที่ ๔ วัดประชุมพลแสน - โบสถ์คริสต์ จำนวน ๒ แห่ง หมู่ที่ ๑ ตำบลสวนผึ้ง ประเพณีและงานประจำปี - ช่วงเดือนเมษายน ประเพณีสงกรานต์ - ช่วงเดือนสิงหาคม ประเพณีเรียกขวัญเดือนเก้า (อั้งหมี่ถ่อง) - ช่วงเดือนกันยายน งานไทยตะนาวศรี - ช่วงเดือนพฤศจิกายน ประเพณีลอยกระทง และประเพณีอื่นๆ ได้แก่ ประเพณีแห่ฉัตร (ส้งทะเดิ่ง) ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น - ภาษาถิ่น คือ ภาษากะเหรี่ยง หมู่ที่ ๑ หมู่บ้านบ้านบ่อ - ภาษาญวน หมู่ที่ ๔ หมู่บ้านนาขุนแสน และมีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการเพาะเห็นเป็นทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม
|
การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติการคมนาคขนส่ง - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) จากอำเภอเมืองจังหวัดราชบุรีเลี้ยวเข้าถนน เจดีย์หัก ระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๙๑ (ถนนเจดีย์หัก-เขางู) ระยะทางประมาณ ๘ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๐๘ (ถนนราชบุรี-เขางู– สวนผึ้ง) ระยะทางประมาณ ๕๒ กิโลเมตร ถึงแยกหน้าอำเภอสวนผึ้ง ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร ถึงสำนักงานเทศบาลตำบลสวนผึ้ง เป็นถนนลาดยางยาวตลอดสาย - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) จากอำเภอเมืองจังหวัดราชบุรีเลี้ยวเข้าทาง หลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๐๘ (ถนนเขาวัง-น้ำพุ-ชัฏป่าหวาย) ระยะทางประมาณ ๔๙ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๐๘๗ (ถนนช่วงบ้านชัฏป่าหวาย – สวนผึ้ง) ระยะทางประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ถึงแยกหน้าอำเภอสวนผึ้ง ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร ถึงสำนักงานเทศบาลตำบลสวนผึ้ง - ถนนลาดยาง จำนวน ๒๒ สาย - ถนนลูกรัง จำนวน ๔ สาย - ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน ๑๙ สาย - ถนนหินคลุก จำนวน ๓ สาย การไฟฟ้า - บ้านเรือนในเขตพื้นที่มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหลังคาเรือน มีการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างทางสาธารณะ ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมด เทศบาลตำบลสวนผึ้ง ได้ตั้งงบประมาณในการขยายเขตไฟฟ้า และ มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลแก้ไขและให้บริการประชาชน การประปา - บ้านเรือนในเขตพื้นที่มีระบบประปาภูมิภาคสวนผึ้ง ให้บริการกับประชาชน จำนวน ๑ แห่ง สามารถให้บริการได้เกือบครอบคลุมทุกหลังคาเรือน ในช่วงหน้าแล้งอาจเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ ใช้ในการอุปโภค – บริโภคในบางพื้นที่ โทรศัพท์ - มีบริการโทรศัพท์สาธารณะและการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเอกชน มีสัญญาณครอบคลุม ๑๐๐% ของพื้นที่ทั้งหมดในเขตเทศบาลตำบลสวนผึ้ง ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ - มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอำเภอสวนผึ้ง จำนวน ๑ แห่ง ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งน้ำธรรมชาติ - แม่น้ำลำภาชี ๑ แห่ง - ลำห้วย ๒ แห่ง ได้แก่ ลำห้วยลำภาชี และลำห้วยบ่อ ลักษณะของไม้และป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้ประกอบด้วย ไม้เต็งรัง ไม้ประดู่ ป่าไผ่ ไม้รวก เป็นต้น |