หน่วยงานและอำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่เทศบาลอำนาจหน้าที่ อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลสวนผึ้ง มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่14) พ.ศ.2562 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลไว้ เป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย มาตรา 50 และมาตรา 51 และอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16 ดังต่อไปนี้ อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลไว้ เป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย มาตรา50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้ 1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน 2.ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ 3.รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 4.ป้องกันและระงับโรคติดต่อ 5.ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง 6.จัดการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาศาสนาและการฝึกอบรมให้แก่ประชาชนรวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก 7.ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้บริการ 8.บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 9.หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีและให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด มาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้ 1.ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา 2.ให้มีโรงฆ่าสัตว์ 3.ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม 4.ให้มีสุสานและฌาปนสถาน 5.บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร 6.ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ 7.ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น 8.ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ 9.เทศพาณิชย์ อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16 ให้เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่ ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นด้วยตนเองดังนี้ 1.การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 2.การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ 3.การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ 4.การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ 5.การสาธารณูปการ 6.การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ 7.การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน 8.การส่งเสริมการท่องเที่ยว 9.การจัดการศึกษา 10.การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 11.การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 12.การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 13.การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 14.การส่งเสริมการกีฬา 15.การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 16.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 17.การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 18.การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย 19.การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล 20.การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน 21.การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ 22.การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ 23.การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ 24.การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 25.การผังเมือง 26.การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร 27.การดูแลรักษาที่สาธารณะ 28.การควบคุมอาคาร 29.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 30.การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 31.กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด |
สำนักปลัดเทศบาลมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของเทศบาลที่มิได้กำหนดไว้ว่าเป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดในเทศบาล ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและปฏิบัติราชการ เทศบาลตำบลสวนผึ้ง การบริหารงานบุคคล งานรับเรื่องราวร้องทุกข์(งานนิติการ) การจัดเตรียมการเลือกตั้ง การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานสวัสดิการสังคม ตลอดจนงานบริการสืบค้นข้อมูลข่าวสารอื่นๆ ประกอบด้วย 1.1 งานบริหารงานทั่วไป 1.2 งานแผนงานและงบประมาณ 1.3 งานกฎหมายและคดี 1.4 งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1.5 งานพัฒนาชุมชนและส่งเสริมอาชีพ 1.6 งานสวัสดิการสังคมและการสงเคราะห์ |
กองคลังมีหน้าที่เกี่ยวกับการจ่าย การรับ การนำส่ง การเก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกา งานเกี่ยวกับเงินเดือนค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จบำนาญ เงินอื่นๆ งานเกี่ยวกับ การจัดทำงบประมาณ ฐานะการเงิน การจัดสรรเงินต่างๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้ และการจ่ายเงินต่างๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงบทดลองประจำเดือน-ประจำปี งานพัสดุและทรัพย์สิน งานผลประโยชน์ งานแผนที่ภาษี และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วย 1.1 งานการเงินและบัญชี 1.2 งานพัฒนารายได้ 1.3 งานพัสดุและทรัพย์สิน |
กองช่างมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจ ออกแบบ การจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและทดลองคุณภาพวัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบ การก่อสร้าง งานควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานแผนปฏิบัติงานการก่อสร้างและซ่อมบำรุง การควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานแผนงานด้านวิศวกรรมเครื่องกล การควบคุม การบำรุงรักษาเครื่องจักรกล การควบคุม การบำรุงรักษาเครื่องกลและยานพาหนะ งานเกี่ยวกับแผนงานควบคุมเก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ-อุปกรณ์อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องจักรกล และงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วย 1.1 งานก่อสร้างออกแบบและควบคุมอาคาร 1.2 งานผังเมืองและสาธารณูปโภค |
กองการศึกษามีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาและพัฒนาการศึกษา วิจัยและพัฒนาหลักสูตร การแนะแนว การวัดประเมินผลการพัฒนาตำราเรียน การวางแผนการศึกษา ของมาตรฐานศึกษา การบริการส่งเสริมการศึกษา การใช้เทคโนโลยีการศึกษา การเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษา ส่งเสริมการวิจัยการวางโครงการ การสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ การศึกษาเพื่อนำไปประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงานและแนวทางการปฏิบัติ ในการจัดการศึกษาการเผยแพร่การศึกษาและงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วย 1.1 งานบริหารการศึกษา 1.2 งานส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม |
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการด้านการสาธารณสุข การอนามัย การป้องกันและรักษาโรค การรักษาความสะอาด การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม วางแผนประสานคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรป่าไม้ ดิน น้ำ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ รวมทั้งการจัดการและการใช้ประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติ การเฝ้าระวังติดตามตรวจสอบ และดำรงไว้ซึ่งสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วย 1.1 งานส่งเสริมสุขภาพและบริการสาธารณสุข 1.2 งานรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม |
หน่วยตรวจสอบภายใน |